ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 3 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


ผ่า...กลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจ 453 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (6)

 ผ่า...กลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจ 453 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (6)

ข้อเขียนวันนี้จะวิเคราะห์เปรียบเทียบกลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจของ BGH (กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ) และ BH (กลุ่มโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีการเสียภาษีสูงสุดเป็นอันดับ 1 และ 2 ในกลุ่มการแพทย์ในตลาดหลักทรัพย์
 
ประเทศไทยของเรามีชื่อเสียงทางด้านการแพทย์และพยาบาลในเรื่องของคุณภาพการรักษา/เทคโนโลยีทันสมัยได้มาตรฐาน/บริการสุดยอดโดยสามารถเข้าถึงแพทย์ได้ง่ายกว่าในต่างประเทศ และที่สำคัญคือราคาค่ารักษาพยาบาลถูกกว่าต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ
ทุกวันนี้โรงพยาบาลขนาดใหญ่ของไทย ได้มุ่งจับกลุ่มลูกค้าต่างประเทศเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด โดยใช้กลยุทธ์ธุรกิจและการบริหารด้วยเทคโนโลยีทันสมัย รวมทั้งการขยายพื้นที่บริการด้วยการเข้า take over โรงพยาบาลที่ inactive/การสร้างตึกคนไข้ที่ทันสมัยสะดวกสบายเทียบเท่าโรงแรมชั้นนำ เป็นต้น
ในมุมภาษี ธุรกิจโรงพยาบาลต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ได้รับยกเว้น VAT (ซึ่งจะแตกต่างจากธุรกิจการศึกษาซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีอากรทุกประเภท) นอกจากนั้น ยังมีประเด็นการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของแพทย์ ซึ่งถือเป็นบุคลากรสำคัญที่สุดในธุรกิจนี้ ด้วยเหตุที่แพทย์มีรายได้สูง (มาก) จึงมีการวางแผนภาษีโดยจัดตั้งคณะบุคคล เพื่อแตกหน่วยภาษีและชำระภาษีต่ำลง และยังมีประเด็นข้อกฎหมายในการวินิจฉัยประเภทเงินได้ของแพทย์ในกรณีทำงานพิเศษนอกเวลาราชการในโรงพยาบาลเอกชนว่าเข้าลักษณะเงินได้ประเภท 40 (1)(2) หรือ (6) ซึ่งมีอัตราการหักค่าใช้จ่ายเหมาที่แตกต่างกัน
เพื่อให้ง่ายแก่การอ่าน ผู้เขียนขอสรุปการวิเคราะห์ในรูปตารางเปรียบเทียบระหว่าง 2 ยักษ์ใหญ่ในวงการแพทย์ (BGH & BH) ดังนี้
เปรียบเทียบกลยุทธ์ภาษี&ธุรกิจ BGH vs. BH
บริษัท ประเด็นเปรียบเทียบ BGH ผู้เสียภาษีสูงสุดในกลุ่มโรงพยาบาล BH โรงพยาบาลที่มีภาพลักษณ์ โดดเด่นที่สุดในกลุ่มฯ
1. จุดเด่น มีชื่อเสียงด้านการรักษาโรคหัวใจ โรคมะเร็ง และผิวหนัง (ในอนาคตจะเน้นบริการด้านสมอง) เน้นการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ คณะแพทย์และพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญ โดยได้รับการรับรองคุณภาพจาก 3 มาตรฐาน (ISO14001, ISO9001:2000 และ HA)
2. โครงสร้างธุรกิจ มี 6 โรงพยาบาล 18 สาขา ครอบคลุมทั้งในและต่างประเทศ (UAE และกัมพูชา) คือโรงพยาบาลกรุงเทพ สมิติเวช บีเอ็นเอช รามคำแหง พญาไท วิภาวดี แบ่งการบริหารเป็น 10 บริษัท ประกอบธุรกิจการแพทย์ ธุรกิจทางโรงพยาบาล และธุรกิจให้เช่า เป็นต้น และยังมีโรงพยาบาลและคลินิก 80 แห่งใน 7 ประเทศ
3. กลยุทธ์ธุรกิจ(1) เน้นการขยายตัวในแนวนอน (Horizontal Integration) โดยเน้นการเพิ่มพื้นที่ให้บริการด้วยการเข้าซื้อหุ้นโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดสำคัญ และลงทุนใน UAE/กัมพูชา และขยายเข้าสู่กลุ่มลูกค้าระดับกลาง-ล่าง โดยเข้า take over โรงพยาบาลรามคำแหง วิภาวดี เป็นต้น ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่รักษาคนไข้ในโครงการ 30 บาท (2) เจาะกลุ่มคนไทยระดับ B ขึ้นไป และลูกค้าชาวต่างชาติที่มีภูมิลำเนาในไทยและนักท่องเที่ยวรวมถึงกลุ่มที่ต้องการเข้ามารับการรักษาโดยตรง (ด้านหัวใจและมะเร็ง) (2) ได้ volume discount จากการสั่งซื้อยาและเวชภัณฑ์พร้อมกันทั้งกลุ่มบริษัท และเข้าลงทุนในบริษัทสหแพทย์เภสัชจำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่าย (3) เน้นให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพสูงได้มาตรฐานสากล ด้วยเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัยและทีมแพทย์ที่มีชื่อเสียง (4) ขยายฐานลูกค้าด้วยกลยุทธ์การสร้างเครือข่ายโรงพยาบาลมากที่สุดในไทย โดยแต่ละแห่งมีความชำนาญและความพร้อมของอุปกรณ์ต่างกัน โดยมีการแนะนำหรือส่งผู้ป่วยระหว่างกัน(1) เน้นการแพทย์เชิงป้องกัน (preventive medicine) โดยเปิดศูนย์สุขภาพไวทัลไลฟ์ เมื่อ 28 ส.ค. 2544 (บริการ Anti-Aging ครบวงจร) (3) มุ่งจับตลาดลูกค้าต่างประเทศ โดยตั้งหน่วยงานบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชันแนล (BHI) ในปี 2545 โดยให้บริการปรึกษาและบริหารจัดการ รวมถึงออกแบบโรงพยาบาลให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ ในภูมิภาค เช่น เข้าบริหารโรงพยาบาลอัลมาฟรัก ในอาบูดาบี (UAE) เข้า take over เอเชียน ออสปิทอล อิงค์ (AHI-ฟิลิปปินส์) และเข้าถือหุ้น 30% บริษัทโกลเบิลแคร์ โซลูชั่น (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ สำหรับโรงพยาบาล (ประเทศลักเซมเบิร์ก) ฯลฯ ปัจจุบัน BH ได้ขยายการลงทุนไปยังฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และตะวันออกกลาง โดยมีสำนักตัวแทน 17 แห่งในตลาดสำคัญและตั้งศูนย์บริการผู้ช่วยต่างชาติอย่างเป็นทางการ และศูนย์รับย้ายผู้ป่วย (Tertiary Referral Center) จากทั้งในและต่างประเทศ
4. กลยุทธ์ภาษี (1) BGH เป็นบริษัทที่จดทะเบียนใน SET จึงได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่รัฐบาลมอบให้เป็นช่วง ๆ นอกจากนั้นยังสามารถประหยัดภาษีในระดับผู้ถือหุ้น ทั้งกรณีของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยเฉพาะกรณียกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแก่ capital gains ตามกฎกระทรวง 126 ข้อ 2 (23) แห่งประมวลรัษฎากร (2) การมีบริษัทในเครือจำนวนมากและมีการส่งคนไข้ระหว่างกัน/อาจใช้ facilities และบุคลากรร่วมกัน ฯลฯ กรณีถือเป็นจุดอ่อนทางภาษีอากรในหลายแง่มุม เช่นเดียวกับกรณีของ related parties transaction ทั่ว ๆ ไป ที่ชัดเจนคือเสียสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการแยก transaction ออกจาก BGH ซึ่งเป็นบริษัทใน SET (3) กิจการโรงพยาบาลเป็นธุรกิจ NON-VAT แต่ร้านขายยาต้องเสีย VAT กรณีจะมีประเด็นเกี่ยวโยงกับการจัดตั้งคณะบุคคลเพื่อประหยัดภาษีของแพทย์ ซึ่ง Revenue Ruling วางเงื่อนไขให้ต้องมีลักษณะที่คนไข้เข้ามารักษากับคลินิก (คณะบุคคล) ทำให้โรงพยาบาลต้องกลายสภาพเป็นร้านขายยา ฯลฯ นั้น จะต้องวางกลยุทธ์และรูปแบบ (ซึ่งมีหลายวิธี) ให้เหมาะสม เพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุดแก่ทั้ง 2 หน่วยภาษี (คือโรงพยาบาลและแพทย์) (1) สิทธิประโยชน์จากการเป็นบริษัทใน SET เช่นเดียวกับ BGH (2) การแตกหน่วยภาษี (tax entity) ออกเป็นหลายบริษัท ย่อมทำให้เสียโอกาสได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก BH ซึ่งเป็นบริษัทใน SET นอกจากนั้นอาจเกิดปัญหาภาษีจากรายการค้าระหว่างกัน (related parties transaction) ทั้งในกรณีที่มีการคิด/ไม่คิดค่าตอบแทนระหว่างบริษัทในเครือ (3) กรณีเข้า take over โรงพยาบาลในต่างประเทศโดยวิธีเข้าซื้อหุ้น เช่น ซื้อ 14% ในบริษัทโกลเบิล แคร์ โซลูชั่น เอสเอ (ลักเซมเบิร์ก) นั้นจะไม่ได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินในผลตาม พรฎ.#442 (เพราะถือหุ้นไม่ถึง 25%) ดังนั้น จึงควรจัดโครงสร้างการถือหุ้นใน GCS Thailand (30%) และ GCS ลักเซมเบิร์กให้เหมาะสมลงตัว เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดทั้งทางธุรกิจและภาษี (4) กรณีที่มีพันธมิตรนักลงทุนเชิงกลยุทธ์ในต่างประเทศที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น Istithmar (UAE), Temasek (สิงคโปร์) และ Asia Finance Holdings (ฮ่องกง) โดยมีนโยบายลงทุน/บริหารจัดการและให้บริการในโรงพยาบาลต่างประเทศ (ขณะนี้มี 70 แห่งใน 7 ประเทศ) นั้น สามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบเช่น คิดค่า Management Fee,ค่า Royalty Fee, Share acquisition, หรือตั้ง Holding Company เป็นต้น แต่ละทางเลือกล้วนมีผลแตกต่างทั้งทางด้านภาษีและธุรกิจ
โปรดติดตามอ่านรายละเอียด 'ผ่า...กลยุทธ์ภาษี&ธุรกิจ 462 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์’ ใน website : www.taxbiz.co.th
เรื่อง : อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ 



ผ่า...กลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจ 453 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์

ผ่า...กลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจ 453 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (5)
ผ่า...กลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจ 453 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (4)
ผ่า...กลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจ 453 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (3)
ผ่า...กลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจ 453 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (2)